ผู้เขียน หัวข้อ: Doctor At Home: เนื้องอก (Tumor)  (อ่าน 1013 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 405
  • ลงประกาศฟรี ซื้อ-ขายออนไลน์ ใหม่-มือสอง โปรโมทสินค้า ลงประกาศได้ไม่จำกัด
    • ดูรายละเอียด
Doctor At Home: เนื้องอก (Tumor)
« เมื่อ: วันที่ 7 มกราคม 2025, 11:31:40 น. »
Doctor At Home: เนื้องอก (Tumor)

เนื้องอก (Tumor) คือ เนื้อเยื่อที่มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพียงเนื้อเยื่องอกเพิ่มขึ้นมา หรืออาจหมายถึงเนื้อร้ายที่เป็นเซลล์มะเร็งก็ได้ โดยเนื้องอกแต่ละประเภทย่อมมีลักษณะเฉพาะและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและตำแหน่งที่เกิดด้วย

ชนิดของเนื้องอก

เนื้องอกธรรมดา (Benign Tumor) เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นแล้วไม่แพร่กระจายลุกลามไปสร้างความเสียหายยังเซลล์เนื้อเยื่อในบริเวณใกล้เคียงหรือเซลล์เนื้อเยื่อในอวัยวะส่วนอื่น แต่อาจทำให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อร่างกายได้ หากเนื้องอกที่เกิดขึ้นไปกดทับอวัยวะสำคัญ เช่น เส้นเลือดหรือเส้นประสาทของผู้ป่วย

เนื้องอกธรรมดามีหลายชนิดด้วยกัน โดยชนิดที่พบได้บ่อย ได้แก่

    ไฟโบรมา หรือไฟบรอยดส์ (Fibromas/Fibroids) อาจเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบริเวณใดก็ตามบนร่างกาย โดยมากมักเกิดขึ้นในมดลูก และสร้างความเสียหายทำให้มีอาการอย่างเลือดไหลออกจากช่องคลอด ปวดท้องน้อย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
    ปาปิลโลมา (Papilloma s) เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อบุผิวและมีลักษณะก้อนเนื้อคล้ายรูปนิ้วมือ อาจเกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง ท่อน้ำนมบริเวณทรวงอก ปากมดลูก หรือเยื่อบุหนังตา เนื้องอกชนิดนี้เป็นผลมาจากการสัมผัสกับเชื้อไวรัส Human Papilloma virus: HPV
    ไลโปมา (Lipomas) หรือเนื้องอกไขมัน เกิดจากเซลล์ไขมัน มักเกิดขึ้นบริเวณลำคอ แขน ไหล่ หรือหลัง มักมีลักษณะกลม เคลื่อนไปมาได้ ก้อนนุ่ม และเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ
    อะดีโนมา (Adenomas) เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อบุผิวของต่อมภายในร่างกาย มักเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ ตับ หรือต่อมไทรอยด์ ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้อาจพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายได้ แต่มีโอกาสเกิดน้อยกว่า 1 ใน 10 ครั้งที่พบเนื้องอกชนิดนี้
    ฮีแมงจิโอมา (Hemangiom as) เป็นการรวมตัวของเซลล์หลอดเลือดในผิวหนังหรือในอวัยวะภายในเกิดเป็นเนื้องอก อาจปรากฏใ นรูปของปานสีแดงหรือสีดำคล้ำ
    ไฝ หรือปาน (Nevi/Moles) เกิดขึ้นที่ผิวหนัง อาจเป็นจุดหรือบริเวณสีชมพู สีแทน สีน้ำตาล ไปจนถึงสีดำคล้ำ หากไฝหรือปานมีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างผิดปกติหรือผิดรูปร่างไปจากเดิม ควรไปพบแพ ทย์เพื่อรับการตรวจ เพราะอาจเ ป็นสัญญาณเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้
    ไมโอมา (Myoma) เป็นเนื้องอกของกล้ามเนื้อ และไลโอไม โอมา (Leiomyoma s) เป็นเนื้องอกที่เติบโตในกล้ามเนื้อเรียบบริเวณอวัยวะต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร มดลูก หลอดเลือด
    ออสทีโอคอนโดรมา (Osteochon droma) เป็นเนื้องอกบริเวณกระดูกที่มักทำให้เกิดปุ่มนูนตรงข้อต่อ อย่างหัวเข่าหรือหัวไหล่
    นิวโรมา (Neuromas) เป็นเนื้องอกที่เจริญเติบโตบริเวณเส้นประสาท อาจเกิดขึ้นได้กับบริเวณใดก็ตามบนร่างกายที่เป็นที่อยู่ของเส้นประสาท พบมากในผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรมนิวโรไฟโบรมาโตสิส (Neurofibr omatosis) หรือโรคท้าวแสนปมนั่นเอง
    เมนิงจิโอมา (Meningiom as) เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อหุ้มสมองและเยื่อหุ้มไขสันหลัง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการทางสมองและระบบประสาท เช่น ปวดหัว อ่อนแรงครึ่งซีก ชัก บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง มีปัญหาทางการมองเห็น เป็นต้น

เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย (Malignant หรือ Cancerous Tumor) เนื้อร้าย หรือเซลล์มะเร็ง เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตอย่างควบคุมไม่ได้ แพร่กระจาย และลุกลามไปเรื่อย ๆ ตามเนื้อเยื่ออื่นในบริเวณใกล้เคียง หรือเนื้อเยื่อที่อวัยวะอื่น ๆ ผ่านทางเลือด โดยเซลล์เนื้อร้ายจะไปทำลายเซลล์ปกติที่มีสุขภาพดี ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยหรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม หรือกำจัดเซลล์เนื้อร้ายออกไปได้อย่างทันท่วงที

สาเหตุของเนื้องอก

เนื้องอกเกิดจากการขาดสมดุลระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของเซลล์ใหม่และการเสื่อมสลายของเซลล์เก่าภายในร่างกาย เนื่องจากโดยปกติแล้ว เซลล์เก่าที่ตายไปจะถูกทำลายและสลายไป เพื่อเปิดช่องว่างให้เซลล์ใหม่เจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่ แต่หากกระบวนการดังกล่าวถูกรบกวนหรือเกิดความผิดปกติ เนื้อเยื่อจะเจริญเติบโตผิดปกติเกิดเป็นเนื้องอกขึ้นมา

โดยส่วนมาก เนื้องอกธรรมดามักเกิดขึ้นโดยไม่อาจระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่เนื้องอกที่เกิดขึ้นนั้นมักเกี่ยวข้องกับปัจจัยดังต่อไปนี้

    สารพิษจากสิ่งแวดล้อม เช่น ร่างกายสัมผัสกับรังสีที่เป็นอันตราย
    กรรมพันธุ์
    การบาดเจ็บในบริเวณต่าง ๆ
    การอักเสบ หรือการติดเชื้อ
    ความเครียด
    อาหารการกิน

ส่วนเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย หรือมะเร็ง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง เช่น

    สารเคมี สารพิษชนิดต่าง ๆ เช่น สารพิษในบุหรี่ สารเบนซีน
    การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
    สารพิษจากสิ่งแวดล้อม เช่น พิษจากเห็ดพิษ หรือพิษในเชื้อราอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin s) ที่มักปนเปื้อนอยู่ในอาหารตระกูลถั่ว
    ร่างกายสัมผัสกับแสงแดดมากเกินไป ทำให้รังสียูวีจากแดดส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเซลล์ผิว
    ร่างกายสัมผัสกับรังสีที่เป็นอันตราย
    การติดเชื้อไวรัส ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งองคชาต มะเร็งทวารหนัก จากการติดเชื้อไวรัส Human Papilloma virus: HPV มะเร็งตับจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และ C
    ความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือการเจ็บป่วยที่อาจถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม
    ภาวะอ้วน
    อาหารการกิน

อาการของเ นื้องอก

ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในร่างกายแตกต่างกันไปตามชนิดของเนื้องอก และตำแหน่งที่มีเนื้องอกเกิดขึ้น ซึ่งผู้ป่วยอาจมีลักษณะอาการ เช่น

    มีไข้ หรือหนาวสั่น
    เมื่อยล้า อ่อนเพลีย
    ไม่อยากอาหาร
    น้ำหนักตัวลดลง
    มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
    เจ็บปวดตามบริเวณที่เกิดเนื้องอก

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายที่มีเนื้องอก อาจมีลักษณะอาการเฉพาะ ซึ่งขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดเนื้องอก เช่น

    เนื้องอกในปอด ผู้ป่วยอาจมีอาการไอ หายใจไม่อิ่ม และเจ็บหน้าอก
    เนื้องอกในลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยอาจมีน้ำหนักตัวลดลง ท้องร่วงหรือท้องผูก ป่วยด้วยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และอาจถ่ายเป็นเลือด

ส่วนเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งนั้น ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏในระ ยะเริ่มแรก แต่อาจมีอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่รุนแรงขึ้น เมื่อเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่ระยะลุกลาม ซึ่งลักษณะอาการที่เกิดขึ้นมักแตกต่างกันไปตามประเภทและบริเวณที่เกิดมะเร็งด้วยเช่นกัน


การวินิจฉัยเนื้องอก

แพทย์อาจตรวจวินิจฉัยบริเวณที่เกิดเนื้องอกชนิดที่ปรากฏตามผิวหนังและร่างกายภายนอก หรือผู้ป่วยที่มีข้อสงสัยและไปพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บป่วยบางอย่าง แพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อตรวจหาเนื้องอก หรือตรวจหาสาเหตุและความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย โดยแพทย์อาจเลือกใช้วิธีการดังต่อไปนี้

    การตรวจเลือดและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด  แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อนำตัวอย่างเลือดที่ได้ส่งไปตรวจในห้องปฏิบัติ เพื่อหาจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ฮีโมโกลบินในเลือด หาความเข้มของเลือด หรือสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Marker) เป็นต้น
    การตรวจกา รทำงานของ ตับ แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับสารเคมีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตับ เช่น อัลบูมิน (Albumin) บิลิรูบิน (Billirubi n) อัลคาไลน์ ฟอสเฟต (Alkaline Phosphata se) และเอนไซม์ต่าง ๆ เป็นต้น
    การเอกซเร ย์ช่องอก ผู้ป่วยต้องยืนหน้าเครื่องเอกซเรย์แล้วสูดหายใจเข้าในขณะที่เครื่องจับภาพเอกซเรย์ ภาพแรกคือยืนหันหน้าเข้าหาเครื่อง และอีกภาพหนึ่งคือยืนหันด้านข้างเข้าหาเครื่อง เป็นวิธีการตรวจบริเวณช่องอก ปอด หัวใจ เส้นเลือดใหญ่ กระบังลม และกระดูกซี่โครง
    การสแกนอวัยวะและโครงสร้างภายใน แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้าเครื่องทำ CT Scan หรือ MRI Scan  เพื่อฉายภาพตำแหน่งที่อาจมีเนื้องอกเกิดขึ้น หรือบริเวณที่มีการแพร่กระจายลุกลามของเซลล์เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย และอาจทำก ารตรวจเพิ่มเติมด้วย PET Scan เพื่อดูการทำงานของเนื้อเยื่ออวัยวะและการไหลเวียนของเลือดอย่างชัดเจนขึ้น
    การตรวจเนื้อเยื่อไขกระดูก ไขกระดูกเป็นเนื้อเยื่อในกระดูกที่ช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือด เพื่อตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย แพทย์อาจตัดเอาเนื้อเยื่อไขกระดูกบางส่วนจากบริเวณกระดูกเชิงกราน หรือกระดูกหน้าอกออกไปเพื่อตรวจในห้องปฏิบัติการ
    การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ หากตรวจพบ ว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นจริง แพทย์อาจนัดหมายเพื่อผ่าตัดนำชิ้นเนื้อบางส่วนจากก้อนเนื้องอกออกไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อให้ทราบความผิดปกติและชนิดของเนื้องอกให้แน่ชัดว่าเป็นเนื้องอกธรรมดา หรือเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนรักษาผู้ป่วยต่อไป

การรักษาเนื้องอก

แพทย์จะพิจารณาวางแผนรักษาเนื้องอกโดยคำนึงถึงชนิดของเนื้องอกและตำแหน่งที่เกิดเนื้องอกเป็นหลัก


เนื้องอกธรรมดา

หากผู้ป่วยมีเนื้องอกที่ไม่ใช่เซลล์เนื้อร้าย และตำแหน่งที่เกิดเนื้องอกไม่ได้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษาใด ๆ โดยทั่วไป การรักษาเนื้องอกที่เกิดขึ้นตามร่างกายภายนอก มักเป็นการผ่าตัดเพื่อศัลยกรรมตกแต่งเนื้อบริเวณนั้นให้มีความปกติ แต่หากเป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย และอยู่ในตำแหน่งที่เสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น มีเนื้องอกในสมอง หรือมีเนื้องอกที่ไปกดทับเส้นเลือดจนอาจทำให้การไหลเวียนเลือดมีปัญหา แพทย์อาจผ่าตัดนำเนื้องอกส่วนนั้นออกไป อาจใช้ยารักษาบางประเภท หรืออาจฉายรังสีเพื่อกำจัดเซลล์เนื้องอกในบริเวณนั้นออกไป โดยแพทย์จะพยายามให้เนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงเสียหายน้อยที่สุด


เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็ง

สำหรับผู้ที่ถูกตรวจพบเนื้องอกที่เป็นเซลล์มะเร็ง ในเบื้องต้นผู้ป่วยอาจต้องการกำลังใจและการสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจพบ ว่าเป็นมะเร็งแต่เนิ่น ๆ หรือในระยะแรกเริ่ม ย่อมเป็นผลดีต่อการรักษา และมีโอกาสสูงที่ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติได้

โดยแพทย์อาจวางแผนรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน เพื่อกำจัดเซลล์เนื้องอกที่เกิดขึ้น และยับยั้งการแพร่กระจายลุกลามไปยังเซลล์เนื้อเยื่ออื่น ๆ ด้วย เช่น

    เคมีบำบัด หรือ คีโม (Chemother apy) เป็นการให้ยาเพื่อรักษาอาการป่วยที่เกิดขึ้นจากมะเร็ง และทำลายเ ซลล์มะเร็ง หากเซลล์นั้นลุกลามและไม่สามารถกำจัดออกไปจนหมดได้ การให้ยาจะมุ่งเน้นการควบคุมไม่ให้เนื้อร้ายเจริญเติบโตหรือแพร่กระจายเพิ่มขึ้น หรือหากมะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม แพทย์อาจให้ยาเพื่อบรรเทาและประคับประคองอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากมะเร็ง
    การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted Cancer Therapy) เป็นการให้ยารักษามะเร็งและกำจัดเซลล์มะเร็งอย่างเจาะจงบริเวณที่เกิดเนื้อร้ายขึ้น เพื่อฆ่าทำลายเซลล์มะเร็ง ชะลอหรือหยุดการเจริญเติบโตลุกลามของมะเร็งในบริเวณนั้น
    รังสีบำบัด (Radiation) เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อยิงคลื่นพลังงานสูงผ่านร่างกายเข้าไปในบริเวณที่เป็นเนื้อร้าย เพื่อฆ่าทำลายกำจัดเซลล์มะเร็ง โดยเป็นวิธีที่ส่งผลกระทบต่อเซลล์สุขภาพดีในบริเวณใกล้เคียงเพียงเล็กน้อย
    ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunothe rapy) เป็นการให้สารเคมีบางชนิดแก่ผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานเพื่อต่อต้าน กำจัด ยับยั้ง หรือชะลอเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น และป้องกันการแพร่กระจายลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังเนื้อเยื่ออวัยวะส่วนอื่น ๆ ด้วย

    การผ่าตัด แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดนำเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายออกไปในผู้ป่วยบางราย โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดเซลล์มะเร็ง และระดับความรุนแรงในการลุกลามด้วย เช่น แพทย์อาจต้องผ่าตัดนำอวัยวะส่วนที่มีการลุกลามของเซลล์มะเร็งออกไปจนหมดในผู้ป่วยบางราย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายลุกลามไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ภายในร่างกาย


ภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอก

เนื้องอกธรรมดา

    หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่หรือมีรูปร่างผิดปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล เป็นทุกข์ ไม่สบายใจได้
    หากเนื้องอกเกิดขึ้นในตำแหน่งที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา และอาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ เช่น เนื้องอกกดทับเส้นเลือดหรือเส้นประสาท เนื้องอกในสมอง เป็นต้น


เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็ง

อาการป่วยและภาวะแทรกซ้อนของผู้ที่มีเนื้องอกเป็นเซลล์มะเร็งอาจแตกต่างกันไปตามระยะการลุกลามและตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง โดยผู้ป่วยอาจมีอาการซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการลุกลามของมะเร็ง หรือจากการเข้ารับการบำบัดรักษามะเร็งด้วยวิธีต่าง ๆ ได้เช่นกัน

ตัวอย่างอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยมะเร็ง และผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง

    เจ็บปวดตามร่างกาย
    เมื่อยล้า  อ่อนแรง
    หายใจลำบา ก หรือ หายใจไม่อิ่ม
    คลื่นไส้ วิงเวียน
    ท้องผูก หรือ ท้องร่วง
    น้ำหนักลด
    ระดับสารเคมีในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือขาดสมดุล ทำให้อาจเกิดอาการ เช่น กระหายน้ำมากเกินไป ปัสสาวะบ่อย มีภาวะสับสนมึนงง
    เกิดปัญหาในสมองและระบบประสาท เนื่องจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายอาจไปกดเส้นประสาท จนนำไปสู่อาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทางระบบประสาทได้ เช่น ปวดหัว ร่างกายอ่อนแรงครึ่งซีก หรือมีอาการอื่น ๆ ที่คล้ายเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน
    ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อเซลล์มะเร็งผิดปกติ และอาจกลา ยเป็นทำลายเซลล์ที่มีสุขภาพดีได้ อาการรุนแรงที่อาจพบ ได้แก่ เดินลำบาก หรือมีภาวะชัก
    หลังจากรักษามะเร็งไปแล้ว ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะกลับมาเป็นมะเร็งอีก
    เซลล์มะเร็งอาจลุกลามและแพร่กระจายไปยังเซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความเสียหาย จนเสี่ยงต่อการเสียชีวิต


การป้องกันการเกิดเนื้องอก

เนื้องอกธรรมดาและเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยสาเหตุ แต่โดยทั่วไป อาจสามารถ ป้องกันและลดความเสี่ยงได้ด้วยการระมัดระวังในการใช้ชีวิต และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจก่อปัญหาต่อสุขภาพได้ เช่น

    ไม่สูบบุหรี่ เลิกสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีควันบุหรี่
    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการที่เหมาะสม เช่น บริโภคผักผลไม้ให้มาก ลดอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสำเร็จรูป ไม่ดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มในปริมาณที่พอดี เป็นต้น
    ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์
    หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดเป็นเวลานานจนเกินไป อยู่ในที่ร่ม สวมใส่เครื่องแต่งกายปกคลุมผิวหนัง ทาครีมกันแดด
    หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง อย่างการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน มีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
    เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น ไวรัสตับอักเสบ และไวรัส HPV
    ดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นระยะ


 






















































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า