ถวายดอกบัวอบแห้ง เที่ยววัดพระบรมธาตุไชยา เที่ยวสุราษฎร์ธานีเที่ยวสุราษฎร์ธานี เที่ยววัดพระบรมธาตุไชยา วันนี้เราได้นำดอกบัวอบแห้ง คู่หนึ่ง มาถวายเข้าโบสถ์ ณ วัด
พระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ เป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกได้ว่าเป็น วัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวสุราษฎร์ธานี เที่ยววัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร หรือวัดพระบรมธาตุไชยา ตั้งอยู่ในตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมา เป็นวัดเก่าแก่ที่เป็นปูชนียสถาน ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี องค์เจดีย์พระบรมธาตุ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทเรือนธาตุ ซึ่งมีฐานเป็นรูปกากบาท ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกแก้วรูปสี่เหลี่ยม ตกแต่งด้วยเสาติดผนัง และมีมุขทั้ง 4 ด้าน ที่มีความสูงจากฐานถึงยอดเจดีย์ ประมาณ 24 เมตร
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา โรงเรียนสงฆ์ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
สันนิษฐานว่า วัดแห่งนี้มีตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิ เชื่อมต่อกับอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งสถาปัตยกรรมในที่แห่งนี้ ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมของอาณาจักรต่างๆ ซึ่งสามารถสันนิฐานได้จากโบราณสถาน โบราณวัตถุที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งปรากฏอยู่หลายสมัย แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และความเสื่อม จนบางครั้งทิ้งร้างไปแล้ว ก็ฟื้นฟูขึ้นใหม่ในพื้นที่เดียวกันนั่นเอง เป็นโบราณสถานตามแบบลัทธิมหายานตั้งแต่อาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง
จากประวัติความเป็นมา คาดว่า วัดพระบรมธาตุไชยา ได้สร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 13 – พุทธศตวรรษที่ 14 ในสมัยศรีวิชัย โดยมีวัด โบสถ์ หรือพระอุโบสถ หันไปทางทิศตะวันตก รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็ก 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง 4 ด้าน พระบรมธาตุไชยา เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอระฆัง พระพุทธรูปทำด้วยศิลา สูง 104 เซนติเมตร ปางสมาธิประทับอยู่บนฐานบัว มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดีย แบบราชวงศ์คุปตะ สกุลช่างสารนาถ
ในพุทธศตวรรษที่ 14 ได้สร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) สองกรสำริด ประติมากรรมในชวา (ประเทศอินโดนีเซีย) ภาคกลาง จารึกหลักที่ 23 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสกุลวงศ์ของกษัตริย์แห่งศรีวิชัย (ไชยา) และราชวงศ์ไศเลนทรในชวาภาคกลาง
พุทธศตวรรษที่ 15 ได้สร้างพระโพธสัตว์อวโลกิเตศวรสองกรศิลา ศิลปะจามพุทธสมัยอยุธยา ได้สร้างพระพุทธรูปศิลาทราย ศิลปะอยุธยา สกุลช่างไชยา
เที่ยววัดพระบรมธาตุไชยา
เรื่องเล่า ตำนาน ของพระบรม
ธาตุไชยา
เมื่อสมัยอดีต พี่น้องสองคนชาวอินเดีย ที่นามว่า ปะหมอ กับ ปะหมัน ทั้งสองพี่น้องเดินทางจากอินเดีย โดยเรือใบ จนมาถึงเมืองไชยา และทั้งสองได้พาบริวารในลำเรือขึ้นบก ณ บ้านนาค่าย ตรงวัดหน้าเมือง ซึ่งในกาลต่อมา ท่านเจ้าเมืองท่านได้มอบหมายให้ ปะหมอ ซึ่งเขาเป็นนายช่างที่มีความชำนาญ และความสา
มารถในการ
ก่อสร้างเจดีย์ ให้เป็นผู้สร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยาขึ้น
เมื่อสร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา เสร็จ เจ้าเมืองก็ให้ทำการตัดมือและเท้า ของปะหมอ เพื่อไม่ให้ปะหมอ ไปสร้างเจดีย์ที่งดงามในแบบนี้ ให้กับที่อื่นอีก แต่ทว่า ปะหมอ ทนพิษบาดแผลจากการถูกตัดมือและเท้าไม่ไหว จึงเสียชีวิตลง เจ้าเมืองจึงได้ตัดสินใจหล่อรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทน ปะหมอ ว่าเป็นผู้สร้างพระบรมธาตุไชยาแห่งนี้