รังแค หมายถึง เกล็ดสีขาวบนหนังศีรษะ ซึ่งจะหลุดร่วงเมื่อแปรงหรือหวีผม เป็นสิ่งที่พบได้ในคนกว่าร้อยละ 50 โดยเฉพาะอ
ย่างยิ่งจะเป็นมากในช่วงอายุประมาณ 20 ปี
การมีขี้รังแคมากไม่ถือว่าเป็นโรค และไม่ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นผมหรือการอักเสบของหนังศีรษะแต่อย่างใด
สาเหตุ
เกล็ดรังแคเกิดจากหนังศีรษะชั้นบนสุด (ชั้นขี้ไคล) ที่ตายแล้วและหลุดออกมาตามธรรมชาติ ผมบนศีรษะอาจจะรบกวนกระบวนการหลุดลอกของชั้นขี้ไคล ทำให้มีเกล็ดหรือขุยเกิดขึ้น เนื่องจากภาวะนี้พบมากในวัยรุ่น จึงเชื่อว่าอาจเกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนแอนโดรเจนและการทำงานของต่อมไขมัน และอาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่มีรังแคมากจะมีปริมาณของเชื้อรามาลัสซีเซียเฟอร์เฟอร์ (Malassezi
a furfur) มากกว่าคนปกติ ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นสาเหตุของการเกิดรังแคได้
อาการ
เป็นเกล็ดหรือขุยสีขาวหรือเทาเงิน ขนาดเล็ก ๆ อาจเป็นขุยละเอียด หรือเป็นแผ่น อาจเป็นเพียงแห่งเดียวหรือหลายแห่ง หรืออาจเป็นทั้งหนังศีรษะก็ได้ เกล็ดรังแคจะติดค่อนข้างแน่นบนหนังศีรษะ และจะหลุดร่วงก็ต่อเมื่อแปรงหรือหวีผม หรือเมื่อถูกลมพัด
ความรุนแรงของรังแคจะแปรผันไม่แน่นอนในแต่ละช่วง โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ บางรายอาจ
มีอาการคันร่วมด้วย
ภาวะแทรกซ้อน
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง นอกจากทำใ
ห้รำคาญและเสียบุคลิกภาพ
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ
การรักษาโดยแพทย์
แพทย์จะแนะนำให้สระผมด้วยแชมพูที่มีตัวยารักษารังแค เช่น ซีลีเนียมซัลไฟด์ (selenium sulfide), ซิงค์ไพริไทโอน (zinc pyrithion
e), น้ำมันดิน (coal tar เช่น ทาร์แชมพู) ใช้สระผมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ควรสระทิ้งไว้นาน 5-15 นาที แล้วค่อยล้างออก นอกจากนี้อาจใช้แชมพูคีโตโคนาโซล ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา สระผมก็ได้ผลเช่นกัน
ถ้าได้ผล ควรใช้แชมพูดังกล่าวไปเรื่อย ๆ หากหยุดใช้อาจกลับมีขี้รังแคได้อีก
ในรายที่ใช้แชมพูดังกล่าว 2 สัปดาห์แล้วยังไม่ได้ผล หรือหนังศีรษะมีลักษณะอักเสบ หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่น ๆ จะทำการตร
วจหาสาเหต
ุอื่น ๆ เพิ่มเติม
การดูแลตนเอง
หากมีรังแคมาก ให้สระผมด้วยแชมพูที่มีตัวยารักษารังแค เช่น ซีลีเนียมซัลไฟด์ (selenium sulfide), ซิงค์ไพริไทโอน (zinc pyrithion
e), น้ำมันดิน (coal tar เช่น ทาร์แชมพู) ใช้สระผมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ควรสระทิ้งไว้นาน 5-15 นาที แล้วค่อยล้างออก
ควรปรึกษาแพทย์ ถ้าใช้แชมพูรักษารังแคแล้วไม่ได้ผล หรือสงสัยเป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดเกล็ดรังแค (เซ็บเดิร์ม) หรือโรคผิวหนังอื่น ๆ
การป้องกัน
หมั่นสระผมด้วยแชมพูที่มีตัวยารักษารังแคเป็นประจำ
ข้อแนะนำ
ผู้ที่มีอาการรังแคที่ศีรษะที่เป็นเรื้อรัง หรือเป็นมากกว่าปกติ อาจเป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดเกล็ดรังแค หรืออาการแรกเริ่มของโรคโซริอาซิสก็ได้ หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป
doctor at home: รังแค (Dandruff/Seborrhea/Pityriasis capitis) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com