doctor at home: แมงกะพรุนต่อย แมงกะพรุนต่อย หมายถึง การบาดเจ็บที่เกิดจากการสัมผัสถูกแมงกะพรุนที่มีพิษ* โดยส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสถูกหนวดพิษ (tentacle)
หนวดพิษแต่ละเส้นจะมีเข็มพิษกระจายอยู่จำนวนมาก เข็มพิษจะบรรจุอยู่ในกระเปาะพิษ (nematocys
t) ซึ่งจะมีน้ำพิษบรรจุภายใน และมีท่อนำพิษขดอยู่ โดยมีเข็มพิษอยู่ที่ปลายท่อ เมื่อสัมผัสถูกผิวหนังของผู้บาดเจ็บ หรือเกิดแรงกระทบกระเทือน กระเปาะพิษก็จะถูกกระตุ้นให้ปล่อยพิษ โดยยิงเข็มพิษนำออกไปก่อนเพื่อปักลงไปในผิวหนัง หลังจากนั้นจึงดันเอาท่อนำพิษเข้าสู่ผิวหนังให้ลึกขึ้นอีก แล้วดันน้ำพิษเข้าไปสู่รางกายของผู้บาดเจ็บ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น
การถูกพิษแมงกะพรุน มักเกิดจากการการสัมผัสถูกแมงกะพรุนขณะลงเล่นน้ำ ว่ายน้ำ หรือดำน้ำในทะเล ส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการใช้มือเปล่าจับ หรือเดินเท้าเปล่าไปเหยียบถูกหนวดของแมงกะพรุนที่นอนอยู่บนหาดทราย (กระเปาะพิษบนหนวดของแมงกะพรุนที่ตายแล้ว หรือหนวดที่หลุดออกยังสามารถปล่อยพิษกับผู้สัมผัสได้)
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสัมผัสถูกแมงกะพรุนแท้ (True jellyfish อันเป็นแมงกะพรุนไฟวงศ์ Pelagiida
e) ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดและมีพิษน้อยกว่าชนิดอื่น ๆ จะมีเพียงอาการปวดแสบปวดร้อน หรือเป็นรอยแดงตามผิวหนัง ซึ่งมักจะหายได้เอง
ส่วนน้อยที่อาจถูกแมงกะพรุนที่มีพิษมาก บางรายอาจ
ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง และแผลเป็น
มีน้อยรายที่อาจสัมผัสถูกแมงกะพรุนกล่องที่มีพิษต่อหัวใจและระบบประสาท อาจทำให้เสียชีวิตได้**
ทั้งนี้ อาการรุนแรงมากน้อยขึ้นกับชนิดและขนาดของแมงกะพรุน ขนาดของพื้นผิวที่สัมผัส ระยะเวลาที่สัมผัสพิษ และปริมาณพิษที่ได้รับ
*ข้อมูล : สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วันที่ 19 เมษายน 2564 (
https://km.dmcr.go.th/c_247/d_14164)จากการสำร
วจและรวบร
วมข้อมูลแมงกะพรุนพิษ ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2564 โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบแมงกะพรุนพิษจำนวน 9 ชนิด ในน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะความเป็นพิษได้ 5 กลุ่ม เป็นแมงกะพรุนไฟ 2 กลุ่ม และแมงกะพ
รุนกล่อง (box jellyfish) 3 กลุ่ม ดังนี้
1. แมงกะพรุนไฟวงศ์ Pelagiida
e (มีชื่อทั่วไปว่า แมงกะพรุนแท้/True jellyfish) พบจำนวน 2 ชนิด มีรูปร่างคล้ายร่มหรือกระดิ่งคว่ำ มีริ้วขอบร่ม มีลำตัวเป็นสีขาว สีแดงสด สีส้ม หรือหลากหลายสี มีหนวดที่ขอบร่ม (marginal tenacle) เป็นสายยาว และมีหนวดรอบปาก (oral arm) ห้อยย้อยลงมา ทำหน้าที่จับเหยื่อใส่ปาก พบได้ทั่วไปตลอดทั้งปี ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
แมงกะพรุนชนิดนี้มีคนสัมผัสถูกบ่อยที่สุด และมีพิษน้อยกว่าชนิดอื่น ๆ มีพิษทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อน ไม่มีอันตรายร้ายแรง
2. แมงกะพรุนไฟวงศ์ Physaliid
ae (มีชื่อทั่วไปว่า แมงกะพรุนหัวขวด/Blue bottle jellyfish, แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส/Portuguese man-of-war) พบจำนวน 1 ชนิด มีลำตัวสีฟ้าอมชมพู ม่วง น้ำเงินหรือเขียว ส่วนบนของลำตัวที่ลอยโผล่พ้นน้ำ มีลักษณะเรียวรี ยาว คล้ายหมวกทหารเรือรบของโปรตุเกสในยุคก่อน ที่ขอบด้านบนสุดมีลักษณะเป็นสันย่น มีกลุ่มหนวดยาวสีฟ้าหรือสีม่วงออกมาจากด้านล่างเป็นสายยาวหลายเส้นเป็นพวงห้อยลงในน้ำ
ที่พบในทะเลไทยเป็นชนิด Physalia utriculus (เนื่องจากพบในมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย จึงมีชื่อเรียกว่า "แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสอินโด-แปซิฟิก/Indo-Pacific Portugues
e man-of-war") พบในฝั่งอ่าวไทยช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน และฝั่งทะเลอันดามันช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน
แมงกะพรุนหัวขวดมีพิษร้ายแรงกว่าแมงกะพรุนทั่วไปข้างต้น พิษของแมงกะพรุนหัวขวดมีผลต่อระบบประสาท หัวใจ และผิวหนัง ทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อน แน่นหน้าอก หายใจลำบา
ก
3. แมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chirodrop
idae พบจำนวน 3 ชนิด มีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมคล้ายลูกบาศก์ มีสีฟ้าอ่อนหรือไม่มีสี ลักษณะโปร่งใสจนแทบมองไม่เห็น แต่ละมุมของรูปสี่เหลี่ยมมีลักษณะคล้ายขายื่นออกมา และแต่ละขาจะมีหนวดพิษงอกออกมา ซึ่งมีลักษณะแตกแขนงหลายเส้น (ประมาณ 12-15 เส้น) มีความยาวถึง 3 เมตร พบได้เกือบทุกจังหวัดในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก อ่าวไทยตอนกลาง และทะเลอันดามัน (โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดตราด ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และเกาะสมุย เกาะพะงัน ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้)
แมงกะพรุนชนิดนี้มีพิษร้ายแรงที่สุด คือมีพิษรุนแรงต่อระบบประสาท กล้ามเนื้อหัวใจ และการไหล
เวียนของเลือดในปอด สามารถทำใ
ห้เสียชีวิตได้ แมงกะพรุนกล่องชนิดนี้ มีชื่อเรียกทั่วไปว่า "ต่อทะเล (sea wasp)"
4. แมงกะพรุนกล่องวงศ์ Carukiida
e พบจำนวน 2 ชนิด มีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมคล้ายลูกบาศก์แบบเดียวกับวงศ์ Chirodrop
idae แต่มีหนวดพิษที่ยื่นออกจากมุมของรูปสี่เหลี่ยมเพียงมุมละเส้นเดียว (ไม่มีแตกแขนง) พบในเกือบทุกพื้นที่ และพบได้เกือบตลอดทั้งปี (โดยเฉพาะใ
นพื้นที่เกาะสมุย-เกาะพะงัน และทะเลอันดามัน)
มีพิษทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดอย่างรุนแรง และอาจทำใ
ห้เกิดอาการที่เรียกว่า "กลุ่มอาการอิรูคันจิ (Irukandji syndrome)" เป็นเหตุให้จมน้ำง่าย
5. แมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chiropsal
midae พบจำนวน 1 ชนิด มีรูปร่างมีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมคล้ายลูกบาศก์ และมีหนวดแตกแขนงหลายเส้นแบบเดียวกับวงศ์ Chirodrop
idae แต่มีจำนวนเส้นน้อยกว่าและสั้นกว่า พบได้ตลอดทั้งปี ในพื้นที่เกาะสมุย-เกาะพะงัน และทะเลอันดามัน
มีพิษทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อนและเป็นผื่นแดง
**จากข้อมูลสถิติการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่อง ของกองระบ
าดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสา
ธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2564 พบผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 10 ราย บาดเจ็บรุนแรงจำนวน 36 ราย ในพื้นที่หลายจังหวัดที่อยู่ตามฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน
อาการ
ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสถูกแมงกะพรุนแท้ที่มีพิษน้อยกว่าชนิดอื่น ๆ เมื่อไปสัมผัสโดนหนวดจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีอาการเจ็บปวดภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที รู้สึกแสบร้อน คัน และเกิดผื่นแดงนูนเป็นรอยคล้ายโดนแส้ฟาด ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร หลังผ่านไปประมาณ 30 นาทีอาการปวดมักทุเลาลง ส่วนผื่นแดงจะเริ่มยุบลงภายใน 1 ชั่วโมง และใช้เวลานานหลายวันกว่ารอยผื่นจะหายไปจนหมด
ส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการสัมผัสแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงขึ้น นอกจากผิวหนังที่โดนหนวดแมงกะพรุนมีอาการเจ็บปวดรุนแรง แสบร้อน ชา คัน รอยผื่นแดงนูนเป็นรอยเส้นคล้ายโดนแส้ฟาด (สำหรับผู้ที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chirodrop
idae ซึ่งมีหนวดพิษจำนวนมาก จะทำให้เกิดรอยเส้นคล้ายโดนแส้ฟาดจำนวนมากขดวนไปมา) ถ้ารับพิษมากผิวหนังบริเวณนั้นอาจเป็นรอยไหม้ สีเขียวคล้ำ เป็นตุ่มน้ำพอง หรือเนื้อเยื่อผิวหนังตายได้
นอกจากนี้ถ้ารับพิษรุนแรง อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้
ถ้าโดนพิษแมงกะพรุนหัวขวด (แมงกะพรุนไฟวงศ์ Physaliid
ae) ที่รุนแรง อาจมีอาการคลื่นไส้แน่นหน้าอก หรือหายใจลำบากร่วมด้วย
ถ้าโดนพิษแมงกะพรุนกล่องวงศ์ Carukiida
e ที่รุนแรง อาจทำให้เกิดกลุ่มอาการอิรูคันจิ (Irukandji syndrome) ซึ่งมักเกิดอาการหลังโดนพิษ 5 นาทีถึง 2 ชั่วโมง (ส่วนใหญ่ประมาณ 30 นาที) คือ มีอาการปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้อง ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็ง เป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ไอ หายใจลำบา
ก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง มักไม่ทำให้เสียชีวิตจากพิษโดยตรง แต่อาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นเหตุให้ผู้บาดเจ็บจมน้ำง่ายและเป็นอันตรายได้
ถ้าโดนพิษแมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chirodrop
idae (ต่อทะเล) ที่รุนแรง อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้น หายใจลำบา
กหรือหยุดหายใจ หมดสติ เสียชีวิตได้ภายใน 2-10 นาที
ภาวะแทรกซ้อน
มักเกิดกับผู้ป่วยที่โดนแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรง โดยเฉพาะอ
ย่างยิ่งแมงกะพรุนกล่อง
ภาวะที่ร้ายแรง คือ ทำให้หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ หมดสติ เสียชีวิตฉับพลันภายในไม่กี่นาที หรืออาจทำให้ว่ายน้ำไม่ไหวจนทำให้จมน้ำได้ บางรายอาจ
เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (มีอาการสับสน ง่วงซึม เท้าบวม ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออก) ภาวะกล้ามเนื้อสลาย (rhabdomyo
lysis มีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนแรง ปัสสาวะสีดำหรือสีโคล่า)
ในรายที่เป็นกลุ่มอาการอิรูคันจิ อาจเกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ทำให้มีอาการหายใจลำบาก และในรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก อาจทำให้หลอดเลือดสมองแตกหรือหัวใจวายได้
อาจมีอาการแพ้พิษแมงกะพรุนแบบเฉียบพลัน (ซึ่งเกิดขึ้นหลังโดนพิษทันที) หรือแบบชะลอ (delayed hypersens
itivity reaction) หลังโดนพิษ 1-2 สัปดาห์ไปแล้ว โดยมีอาการลมพิษ ผื่นแดง ตุ่มคัน หรือตุ่มน้ำพองเป็นส่วนใหญ่ บางรายอาจ
มีอาการหายใจลำบากหรือหายใจมีเสียงดังวี้ดจากภาวะหลอดลมตีบ บางรายอาจ
มีอาการแพ้รุนแรงจากปฏิกิริยาอะนาไฟแล็กซิส (anaphylax
is) ถึงขั้นเกิดภาวะช็อกจากการแพ้ ซึ่งเป็นอันตรายได้
ผิวหนังที่โดนพิษแมงกระพรุนอาจจะเป็นรอยไหม้ แผลเรื้อรัง แผลติดเชื้อ และอาจจะเ
ป็นแผลเป็น หรือแผลปูด (คีลอยด์) ขนาดใหญ่ได้
ในรายที่รับพิษรุนแรง อาจทำให้ปลายมือหรือปลายเท้าเป็นเนื้อเน่าตาย (digital gangrene) เนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
ถ้าสัมผัสถูกตา อาจทำให้มีอาการปวดตา ตาแดง หนังตาบวม แผลกระจกต
า และอาจทำใ
ห้สายตาพิการได้
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติ (เกิดอาการขณะเล่นน้ำทะเล) ข้อมูลพื้นที่ (พบแมงกะพรุนชนิดใดในฝั่งทะเลที่เกิดเหตุ) อาการ และการตรว
จร่างกายเป็นหลัก ซึ่งมีสิ่งตรวจพบที่สำคัญ
มักตรวจพบรอยผื่นแดงนูนเป็นรอยเส้นคล้ายโดนแส้ฟาด ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร สำหรับผู้ที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chirodrop
idae ซึ่งมีหนวดพิษจำนวนมาก จะทำให้เกิดรอยเส้นคล้ายโดนแส้ฟาดจำนวนมากขดวนไปมา
อาจพบผิวหนังมีรอยไหม้ สีเขียวคล้ำ เป็นตุ่มน้ำพอง (แบบแผลไฟไ
ฟหม้น้ำร้อนลวก) หรือเนื้อเยื่อผิวหนังตายได้
ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน อาจตรวจพบ
สิ่งผิดปกติ เช่น อาการหมดส
ติ ชีพจรเต้นผิดจังหวะ เต้นเร็ว หรือหยุดเต้น ความดันโลหิตสูง หายใจลำบา
กหรือหยุดหายใจ ภาวะช็อก (หน้าซีด ตัวเย็น ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาและเร็ว) แขนขาบวม ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ ใช้เครื่องฟังตรวจปอดอาจมีเสียงวี้ด (wheezing) ในรายที่มีภาวะหลอดลมตีบ หรือเสียงกรอบแกรบ (crepitati
on) ในรายที่มีภาวะปอดบวมน้ำ เป็นต้น
ในรายที่มีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรง แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น
บางรายแพท
ย์อาจตรวจยืนยันชนิดของแมงกะพรุนที่เป็นต้นเหตุ โดยนำกระเ
ปาะพิษที่หนวดไปตรวจพิสูจน์
การรักษาโดยแพทย์
1. ถ้าพบผู้ป่วยที่ยังไม่ได้ให้การปฐมพยาบาล ก็จะทำการปฐมพยาบาล และตัดเอาเสื้อผ้าที่อาจมีเข็มพิษที่ติดอยู่ทิ้งในถังขยะ เพื่อลดการรับพิษเพิ่ม
2. ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร ก็จะทำการฟื้นคืนชีพ (CPR) ทันที หรือถ้ามีภาวะช็อกจากการแพ้ (anaphylac
tic shock) แพทย์จะฉีดอะดรีนาลิน ยาแก้แพ้ และไฮโดรค
อร์ติโซน แล้วรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
3. ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย คือมีเพียงอาการเจ็บปวด แสบร้อน คัน ผื่นแดง หรือตุ่มน้ำพองเล็กน้อย ก็จะทำแผลแบบแผลสดหรือแผลน้ำร้อนลวก (โดยไม่ปิดทับแผลด้วยพลาสเตอร์โดยตรง หรือปิดหรือพันแผลจนแน่น) และให้การรักษาตามอาการ ดังนี้
ให้ยาพาราเซตามอล หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่น ไอบูโพรเฟน)
ถ้าปวดมากให้ใช้ยาชา (เช่น ลิโดเคน) ชนิดเจลทา หรือชนิดสเปรย์พ่น หากไม่ได้ผลอาจต้องฉีดมอร์ฟีนระงับปวด
ให้กินยาแก้แพ้-คลอร์เฟนิรามีน ถ้ามีรานิทิดีน (ranitidin
e) ก็ให้ยานี้ร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมฤทธิ์คลอร์เฟนิรามีน
ฉีดยาป้องกันบาดทะยัก (Tetanus toxoid) ตามข้อบ่งขี้
ถ้าสงสัยแผลมีการติดเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น โคอะม็อกซิคลาฟ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคตับ ให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อกลุ่ม Vibrio spp. เช่น ดอกซีไซคลีน หรือ กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (เช่น นอร์ฟล็อกซาซิน, ไซโพรฟล็อกซาซิน)
สังเกตอาการประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าแผลขนาดเล็กน้อย มีอาการปวดไม่รุนแรง สัญญาณชีพเป็นปกติ ไม่มีอาการผิดปกติของระบบต่าง ๆ ก็จะให้คำแนะนำในการดูแลตนเอง ให้ผู้ป่วยกลับบ้านและนัดมาติดตามดูอาการ
4. ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ล้างตาด้วยด้วยน้ำเกลือนอร์มัล นาน 15-30 นาที และควรปรึกษาจักษุแพทย์ ถ้ามีอาการปวดตา ตามัว ตาแดง ตาไม่สู้แสง หรือสงสัยเกิดแผลกระจกตา
5. ถ้ามีอาการปวดรุนแรง แผลมีลักษณะรุนแรงหรือครอบคลุมพื้นที่ผิวมาก หรือมีอาการผิดปกติของระบบต่าง ๆ (เช่น หายใจลำบา
ก หายใจเร็ว ชีพจรเต้นผิดจังหวะหรือเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เจ็บหรือแน่นหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็ง เป็นตะคริว เท้าบวม ปัสสาวะออกน้อย หรือเป็นสีดำหรือสีโคล่า เป็นต้น) แพทย์จะรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
6. ในกรณีรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล แพทย์จะให้การรักษาดังนี้
(1) ในรายที่มีอาการไม่รู้สึกตัว หรือหายใจลำบาก แพทย์จะใส่ท่อช่วยหายใจ ใช้เครื่องช่วยหาย ให้ออกซิเจน ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
(2) ประเมินความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน ด้วยการตรวจร่างกายและทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม (เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) และให้การแก้ไข อาทิ
ถ้ามีอาการปวดรุนแรงให้ยามอร์ฟีน และยากล่อมประสาทกลุ่มเบนโซไดอะซีพีนส์ (เช่น ไดอะซีแพม)
ให้ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต เช่น ฉีดยา nitroglyc
erine, nicardipi
ne หรือ magnesium sulfate ทางหลอดเลือดดำ
รักษาภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ภาวะช็อก ปอดบวมน้ำ ไตวายเฉียบพลัน ภาวะกล้ามเนื้อสลาย ภาวะเนื้อเน่าตายของปลายมือหรือปลายเท้า เป็นต้น
ผลการรักษา ผู้ป่วยส่วนใหญ่โดนแมงกะพรุนไฟแท้ ซึ่งมีพิษน้อยและมีอาการเพียงเล็กน้อย การปฐมพยา
บาลและการ
รักษาตามอาการ อาการมักจะทุเลาภายในไม่กี่ชั่วโมง ส่วนรอยผื่นอาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ ๆ กว่าจะหายเป็นปกติ
สำหรับผู้ที่โดนพิษร้ายแรงและมีอาการรุนแรง หากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงทีก็มักจะหายและปลอดภัยได้เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นบางรายที่มีแผลติดเชื้อหรือเรื้อรัง ก็อาจเกิดแผลปูดขนาดใหญ่ (คีลอยด์) ตามมาได้ มีเพียงส่วนน้อย (ที่โดนพิษแมงกะพรุนกล่อง) จะเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่นาที
การดูแลตนเอง
1. เมื่อโดนแมงกะพรุน ให้รีบขึ้นจากน้ำ และทำการป
ฐมพยาบาลท
ันที
2. ถ้ามีอาการหมดสติ หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ให้รีบทำการฟื้นคืนชีพ (CPR) และส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที
3. ถ้ามีอาการปวดรุนแรง, มีตุ่มน้ำพอง (แบบน้ำร้อนลวก) หรือติดเชื้ออักเสบ, โดนพิษมากกว่าครึ่งแขน ครึ่งขา หรือเป็นบริเวณกว้างตามใบหน้าหรือลำตัว, โดนพิษที่บริเวณตาหรืออวัยวะเพศ, มีอาการผิดปกติ (เช่น ปวดศีรษะมาก เหงื่อออกมาก หายใจลำบา
ก เจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นผิดปกติหรือเต้นเร็ว สับสน กระสับกระส่าย วิงเวียน หน้ามืดจะเป็นลม ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว แขนขาบวม ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ ปัสสาวะสีดำหรือสีโคล่า เป็นต้น), หรือสงสัยโดนพิษแมงกะพรุนกล่อง ควรไปพบแพ
ทย์โดยเร็ว
4. สำหรับผู้ที่มีเพียงอาการเจ็บปวดและมีผื่นแดงไม่มาก และไม่มีอาการรุนแรง (ดังข้อ 2 และ 3) หากไม่แน่ใจว่าโดนแมงกะพรุนชนิดใด ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการ และให้การรักษาเบื้องต้น หากสังเกตอาการแล้วพบว่าไม่มีความรุนแรง แพทย์ก็จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
5. เมื่อแพทย์ให้การรักษา แล้วให้กลับมาอยู่บ้าน ก็ควรดูแลตนเองดังนี้
รักษา กินยา ปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ และไปติดตามดูอาการกับแพทย์ตามนัด
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด หากพบว่ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นภาวะที่รุนแรง (ดังข้อ 3), มีอาการแพ้พิษ (เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มน้ำพอง หายใจลำบา
กหรือมีเสียงดังวี้ด ๆ หน้ามืด เป็นลม) ซึ่งอาจเกิดหลังโดนพิษ 1-2 สัปดาห์ไปแล้ว, หรือมีอาการที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวล
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในช่วงฤดูฝน หรือหลังจากมีพายุฝน เพราะจะมีแมงกะพรุนชุกชุม
ควรสังเกตป้ายคำเตือน หรือสอบถามจากยามชายฝั่งหรือคนในพื้นที่ให้แน่ชัดว่าบริเวณใดมี
แมงกะพรุนชุกชุม ที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ลงเล่นน้ำ หรือควรเล่นน้ำในที่ที่มีตาข่ายกันแมงกะพรุน
ขณะลงเล่นน้ำหรือดำน้ำในทะเล ควรป้องกันการสัมผัสถูกพิษแมงกะพรุนด้วยการใส่เสื้อผ้า และรองเท้า (เช่น ชุดดำน้ำ เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่เป็นผ้าที่มีเนื้อแน่นแนบลำตัว) ให้ปกปิดได้ทั่วร่างกาย
เวลาลงเล่นน้ำในทะเล โดยเฉพาะอ
ย่างยิ่งในขณะฝนตก ลมแรง อาจพัดพาแมงกะพรุนเข้าชายฝั่ง ควรระมัดระวังอันตรายจากแมงกะพรุน ถ้าเห็นแมงกะพรุนอยู่ใกล้ ควรเลิกเล่นน้ำ
เวลาเดินบนชายหาด ควรใส่รองเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้โดนพิษหากไปเหยียบถูกแมงกะพรุน และอย่าใช้มือเปล่าจับแมงกะพรุนที่ถูกน้ำพัดขึ้นมาบนชายหาด อาจแพ้พิษได้เช่นกัน
ข้อแนะนำ
1. ปัจจุบันพบว่าในทะเลไทยมีแมงกะพรุนชนิดร้ายแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแบบฉุกเฉิน แม้ว่าจะมีโอกาสพบได้น้อย แต่ก็ควรระมัดระวังไม่ให้ได้รับอันตรายจนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
2. การปฐมพยา
บาลที่ถูกต้องทันทีมีส่วนช่วยลดอันตรายจากพิษแมงกะพรุนชนิดร้ายแรงได้ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง และเตรียมยาและอุปกรณ์ (เช่น น้ำส้มสายชู น้ำเกลือนอร์มัล น้ำอุ่นจัด ๆ ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ แหนบที่ใช้คีบหนวดแมงกะพรุน) ไว้ที่ชายหาดให้พร้อมที่จะให้การปฐมพยาบาลทันทีเมื่อถูกแมงกะพรุนไฟ
การปฐมพยา
บาลแมงกะพ
รุนต่อย
รีบขึ้นจากน้ำมาบนฝั่ง พยายามนั่งนิ่ง ๆ และเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด และระวังอย่าให้ผู้อื่นสัมผัสหรือขัดถู บริเวณที่สัมผัสหนวดพิษ เพราะการเ
คลื่อนไหวและการสัมผัสจะกระตุ้นให้กระเปาะพิษปล่อยพิษมากขึ้น
รีบใช้น้ำส้มสายชูที่ใช้ในครัวเรือน (ความเข้มข้น 4-6%) เทราดบริเวณผิวหนังที่ถูกพิษทันทีอย่างต่อเนื่องนานอย่างน้อย 30 วินาที ซึ่งจะช่วยหยุดยั้งไม่ให้กระเปาะพิษปล่อยพิษออกมา* (ยกเว้นกรณีโดนพิษที่ตา ให้ล้างตาด้วยน้ำเกลือนอร์มัล/normal saline นาน 15-30 นาที)
หลังราดเสร็จ อย่าใช้ผ้า กระดาษ หรือวัสดุอื่นใดเช็ดหรือซับให้แห้ง เพราะอาจท
ำให้พิษถูกปล่อยออกมามากขึ้น ห้ามใช้น้ำจืด (เช่น น้ำก๊อก น้ำดื่ม น้ำเปล่า น้ำเย็น น้ำฝน) และแอลกอฮ
อล์ราด เพราะอาจก
ระตุ้นให้กระเปาะพิษปล่อยพิษออกมามากขึ้น
รีบเอาหนวดพิษที่ติดอยู่บนผิวหนังออก โดยใช้แหนบคีบออก หรือใช้ขอบบัตรเครดิตเขี่ยออก ระวังอย่าถูหรือบี้หนวดพิษกับผิวหนัง (เพราะอาจท
ำให้พิษกระจายตัว) และอย่าใช้มือเปล่าจับหยิบหนวดพิษ เพราะทำให้ถูกพิษได้
จุ่มหรืออาบส่วนที่ถูกพิษในน้ำอุ่นจัด ๆ (ขนาดร้อนพอทน หรือประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส) อย่างน้อย 40 นาที ซึ่งจะช่วยบรรเทาปวดและลดพิษแมงกะพรุนได้*
ถ้าปวดมาก กินพาราเซตามอล (หรือไอบูโพรเฟน ตามที่แพทย์แนะนำ)
ถ้ามีอาการคัน กินยาแก้แพ้-คลอร์เฟนิรามีน
ควรไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว ถ้ามีอาการปวดรุนแรง, มีตุ่มน้ำพอง (แบบน้ำร้อนลวก), โดนพิษมากกว่าครึ่งแขน ครึ่งขา หรือเป็นบริเวณกว้างตามใบหน้าหรือลำตัว, โดนพิษที่บริเวณตาหรืออวัยวะเพศ, มีอาการผิดปกติ (เช่น ปวดศีรษะมาก เหงื่อออกมาก หายใจลำบา
ก เจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นผิดปกติหรือเต้นเร็ว สับสน กระสับกระส่าย วิงเวียน หน้ามืดจะเป็นลม ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว แขนขาบวม ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ ปัสสาวะสีดำหรือสีโคล่า เป็นต้น), หรือสงสัยโดนพิษแมงกะพรุนกล่อง
ถ้าผู้บาดเจ็บมีอาการหมดสติ หยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น (จับชีพจรไม่ได้) ให้รีบทำการฟื้นคืนชีพ (CPR) ซึ่งควรทำก่อนใช้น้ำส้มสายชูราด และนำส่งโรงพยาบาลทันที