ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ ลด แลก แจก แถม

โพสฟรี => smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ => ข้อความที่เริ่มโดย: waanbotan_ ที่ วันที่ 8 มกราคม 2024, 16:50:35 น.

หัวข้อ: เฉลยที่นี่ กู้ร่วม ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง พร้อมข้อควรระวังก่อนตัดสินใจ
เริ่มหัวข้อโดย: waanbotan_ ที่ วันที่ 8 มกราคม 2024, 16:50:35 น.
หลายปีมานี้ราคาซื้อขายบ้านมีมูลค่าเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ การกู้บ้านด้วยตัวเองคนเดียวจึงมักได้วงเงินกู้ไม่มากพอซื้อคอนโด ต้องมีเงินเท่าไหร่ (https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1171) ทำให้ผู้คนนิยมแก้ปัญหาด้วยการ กู้บ้านร่วม เพื่อเพิ่มวงเงินกู้และเพิ่มโอกาสให้ตนเองได้รับอนุมัติวงเงินกู้ง่ายขึ้น

การเตรียมเอกสารเพื่อยื่น กู้ร่วมคืออะไร (https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1170)
แบ่งเอกสารออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ เอกสารส่วนตัว เอกสารแสด งความสัมพันธ์ เอกสารทาง การเงิน และเอกสาร เกี่ยวกับบ้านที่ต้องการซื้อ
เอกสารส่วนตัว ได้แก่ บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ใบมรณบัตร เอกสารเปลี่ยนชื่อ-สกุล และเอกสาร อื่น ๆ ที่ใช้ยืนยันสถานะทางครอบครัวได้
เอกสารแสด งความสัมพันธ์ เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนบ้าน สูติบัตร หนังสือรับรองบุตร หรือภาพงานแต่งงาน ในกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่จะสามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กู้ร่วมได้

เอกสารทาง การเงิน ได้แก่ ใบรับรองเงินเดือน/สลิปเงินเดือน Statement ย้อนหลัง 6 เดือน ในกรณีทำงานประจำ หรือสำเนาทะเบียนการค้า/หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล บัญชีเงินฝาก Statement บัญชีกระแสรายวันย้อนหลัง 6 - 12 เดือน พร้อมกับเอกสารแสดงรายได้หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ในกรณีประกอบอาชีพอิสระ
เอกสารเกี่ยวกับบ้านที่ต้องการซื้อ ได้แก่ สัญญาจะซื้อจะขาย สำเนาโฉนด/สำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด

อย่างไรก็ตามเอกสารที่ต้องใช้กับสถาบันการเงินแต่ละแห่งอาจมีมากกว่านี้ ควรสอบถาม ข้อมูลจากสถาบันการเงินต่าง ๆ อย่างละเอียดเพื่อเตรียมเอกสารขอสินเชื่อได้อย่างครบถ้วน
แม้ว่า การกู้ร่วม จะมีข้อดีที่น่าสนใจ เช่น ช่วยทำให้ได้วงเงินอนุมัติสูงขึ้น ช่วยให้การพิจารณาอนุมัติง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน การกู้ร่วม ยังมีข้อควรระวังอยู่ไม่น้อย ดังนั้นผู้ กู้ร่วม จึงควรคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ก่อนตัดสินใจ

การกู้บ้านร่วมไม่ใช่การหาคนมาหารภาระหนี้บ้าน เช่น การหารภาร ะหนี้บ้านออกเป็น 2 ส่วน หรือ 3 ส่วน ตามจำนวนผู้กู้ เพราะสถาบันการเงินสามารถเรียกชำระหนี้จากผู้กู้ร่วมคนใดก็ได้ หากเกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้หรือถูกยึดทรัพย์
สิทธิลดหย่อนภาษีหารกันตามสัดส่วน ต่างจากผู้กู้เดี่ยวที่จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาท เพียงคนเดียว แต่ผู้กู้ร่วมจะต้องหารกัน เช่น กู้ร่วม 2 คน ใช้สิทธิลดหย่อนสูงสุดได้รายละ 50,000 บาท

ในกรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้าน/ห้องชุดเป็นชื่อของบุคคลเดียวผู้กู้ร่วมจะไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์นั้นเลย ขณะเดียวกันในกรณีที่ผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เมื่อจะขายหรือโอนบ้าน/ห้องชุด ทุกคนต้องให้ความยินยอม จะมีผู้หนึ่งผู้ใดไม่ยินยอมไม่ได้
หากเกิดการหย่าร้างหรือผิดใจระหว่างกันจนนำไปสู่การถอนสัญญากู้ ผู้กู้ร่วมทุกคนต้องร่วมกันดำเนินการถอนสัญญา ซึ่งสามารถทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ กันไป โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีรีไฟแนนซ์จากสัญญากู้ร่วมมาเป็นสัญญากู้เดี่ยว หรือนำบ้านไปขายเพื่อปิดสัญญากู้ร่วมนี้แล้วนำเงินมาแบ่งกันก่อนแยกย้ายกันไป
เมื่อมีชื่อเป็นผู้กู้ร่วมแล้วจะทำให้การซื้อบ้านหลังต่อไปในชื่อของตนเองยากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินจะนำภาระหนี้จากการเป็นผู้กู้ร่วมมาพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ด้วย

อ่านมาถึงตรงนี้จะพบว่าสินเชื่อกู้ร่วมซื้อบ้าน (https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1170) มีความสะดวกและมีข้อดีอยู่มากก็จริง แต่ยังมีข้อควรระวังอยู่หลายประเด็นด้วยกัน ดังนั้นก่อนตัดสินใจจะกู้ในลักษณะนี้ผู้กู้ทุกรายจึงควรพูดคุยตกลงถึงการแก้ไขปัญหาวิธีผ่อนบ้านให้หมดเร็ว (https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1553)ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตไว้ล่วงหน้าก่อน เพราะหากทุกอย่างผ่านไปได้อย่างราบรื่นก็ถือเป็นเรื่องดี แต่หากเกิดปัญหาขึ้นระหว่างสัญญาจะได้แก้ไขปัญหาตามที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้าได้ ช่วยลดความกังวลได้ดีในระดับหนึ่ง