ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ ลด แลก แจก แถม

โพสฟรี => smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ => ข้อความที่เริ่มโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 14 กันยายน 2023, 12:47:43 น.

หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: ติดตั้งการเดินสายไฟภายในบ้านอย่างปลอดภัย ได้มาตรฐาน
เริ่มหัวข้อโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 14 กันยายน 2023, 12:47:43 น.
การเดินสายไฟในบ้านเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องติดตั้งและตรวจสอบให้ได้มาตรฐานที่ปลอดภัย เพราะหากเ ดินสายไฟผิดหรือไม่เหมาะสมต่อการใช้งานอาจนำไปสู่การเกิดอัคคีภัยได้เลย ทางเซฟไทย จึงมีเคล็ดลับการเดินสายไฟอย่างไรให้ปลอดภัยมาบอก พร้อมทริกในการใช้พิจารณารูปแบบการเดินสายไฟที่เหมาะสมกับแต่ละบ้านด้วย ไปดูกันเลย

เดินสายไฟอย่างไรให้ปลอดภัย ได้มาตรฐาน

อุปกรณ์เดินสายไฟภายในบ้าน

1.   อุปกรณ์ในการเดินสายไฟ

จุดเริ่มต้นของการเดินสายไฟที่ถูกต้องและปลอดภัยจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการใช้งาน ซึ่งอุปกรณ์การเดินสายไฟมีด้วยกัน ดังนี้

    ค้อน ใช้ตอกตะปูในงานไฟฟ้า เดินสายไฟ เช่น ค้อน หงอน ค้อนเหลี่ยมขนาดเล็ก
    คีม ใช้ในการดัด งอ จับ ตัด ปอกสายไฟ คีมที่นิยมใช้ได้แก่ คีมปอก, คีมปากจระเข้, คีมปากจิ้งจก และคีมย้ำหัวต่อสายไฟ
    ไขควง ใช้ขันสกรูและนอตให้ยึดติดกับวัสดุอื่น และมีไขควงวัดไฟ ใช้เช็กไฟรั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
    หัวแร้ง ใช้ชื่อมวัสดุหรือโลหะเข้าด้วยกัน เหมาะใช้กับงานเดินสายไฟ งานซ่อม และงานประ สานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ใช้ความร้อนไม่มาก
    สิ่ว ใช้เซาะร่องไม้ คอนกรีต ปูน หิน ให้แยกออกจากกันได้ง่ายขึ้น เพื่อทำทางเดินสายไฟ
    สว่าน ใช้ร้อยสายเพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า มีหลายแบบหลายขนาดตามสภาพพื้นผิว เช่น สว่านเฟือง, สว่านมือบิดหล่า และสว่านไฟฟ้า
    เลื่อยลอ มีทั้งชนิดหยาบและละเอียด ใช้บากปากไม้เพื่อทำเดือยเข้าไม้แบบต่าง ๆ เน้นเก็บงานไม้ให้สวยงาม
    บักเต้าตีเส้น ตีเส้นก่อนตอกตะปูเดินสายไฟฟ้า
    เข็มขัดรัดสาย ใช้สำหรับยึดติดสายไฟกับผนังให้แน่น
    เหล็กนำศูนย์ ใช้ตอกจุดบอกตำแหน่งก่อนใช้สว่านเจาะ

 

2.    ประเภทการ เดินสายไฟ

การเดินสายไฟมีด้วยกันหลายแบบ สามารถพิจารณาตามความต้องการ เช่น ความสวยงา ม ความชอบ การใช้งาน ความสะดวก ในการดูแลรักษา และค่าใช้จ่าย

    การเดินสายไฟแบบฝังผนัง เป็นการเดินสายไฟโดยนำสายไฟฟ้าไว้หลังผนัง มีความเรียบร้อยสวยงาม เดินสายไฟภายในท่อที่ติดตั้งในช่องที่เจาะผนังไว้แล้ว
    – ผนังเบา เจาะช่องเพียงบางจุดหรือวางปลั๊กเท่านั้น
    – ผนังอิฐ ต้องเจาะผนังแล้วใช้ท่อร้อยสายไฟลงในช่อง จำเป็นต้องวางแผนให้ดีก่อน

เหมาะสำหรับ บ้านที่ต้องการความสวยงาม สะอาดตา ไม่มีร่องรอยการเดินสายไฟให้เห็น และที่สำคัญมีความทนทานสูง เนื่องจากติดตั้งภายในผนัง

ข้อควรระวัง จำเป็นต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการในการเดินสายไฟ และการซ่อมแซมเมื่อชำรุดอาจทำได้ยาก เพราะอยู่ในจุดที่มองไม่เห็น

    การเดินสายไฟแบบเดินลอย เป็นการเดินสายไฟที่ด้านนอกหรือติดลงบนผนัง ยึดสายไฟกับผนังแล้วครอบด้วยราง
    – แบบท่อร้อยสายไฟ ทำการร้อยสายไฟในท่อโลหะหรือพลาสติก PVC การเดินสายไฟแบบนี้ช่วยป้องกันสายไฟให้ทนทาน ปลอดภัย ตรวจเช็กได้ง่าย
    – แบบตีกิ๊บ ใช้เข็มขัดยึดสายไฟเข้ากับผนัง เพื่อเชื่อมไปที่ปลั๊กไฟหรือวงจรไฟฟ้า

เหมาะสำหรับ บ้านที่มีงบประมาณจำกัด อยากได้การดูแลซ่อมแซมที่สะดวก ไม่ต้องรื้อผนัง

ข้อควรระวัง เป็นการเดินสายไฟที่แสดงร่องรอยการเดินสายให้เห็นต้องใช้ความประณีตเพื่อความสวยงาม สวิตช์ที่ติดจะลอยขึ้นมาจากผนัง

 
3.    ประเภทสาย ไฟ

การเดินสายไฟจะต้องรู้ประเภทสายไฟสำหรับการติดตั้ง โดยแบ่งออกเป็นสำหรับใช้กับแรงดันไฟต่ำและแรงดันไฟสูง ซึ่งตามครัวเรือน หรือที่อยู่อาศัยมักใช้แรงดันไฟต่ำ สายตัวนำทองแดงที่หุ้มฉนวนต้องมีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 450/750 โวลต์ หรือไม่เกิน 750 โวลต์

สายไฟแรงดันต่ำ (Low Voltage Power Cable) มีลักษณะเป็นสายหุ้มฉนวน ทำจากทองแ ดงหรืออะลูมิเนียม เป็นตัวนำเดี่ยว แต่สายขนาดใหญ่เป็นตัวนำตีเกลียว

-    สายไฟชนิดทีเอชดับเบิลยู (THW) แรงดันไฟฟ้า 750 โวลต์ เป็นสายเดี่ยว นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะสามา รถใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 เฟสได้ อุณหภูมิใช้งานที่ 75 องศาเซลเซียส ผลิตตามมาตรฐาน มอก. 11 -2531 เหมาะแก่การใช้ในงานเดินท่อร้อยสาย เดินใต้ฝ้าและในผนัง ไม่ควรฝังลงดิน
-    สายไฟชนิดวีเอเอฟ (VAF) แรงดันไฟฟ้า 300 โวลต์ นิยมใช้ตามบ้านพักในประเทศไทย มีแบบสายคู่ และสายดิน ชนิด 2 แกน หรือ 3 แกน เป็นสายแบน ตัวนำมีฉนวนหุ้มและมีเปลือกหุ้มอีกหนึ่งชั้น อุณหภูมิใช้งานที่ 70 องศาเซลเซียส เหมาะแก่การใช้เดินสายไฟแบบลอย ห้ามฝังลงดิน
-    สายไฟ VCT / VCT-G ฉนวนและเป ลือกทำมาจาก PVC ตัวนำเป็นทองแดงฝอยเส้นเล็กมัดรวมกันเป็นแกน มีตั้งแต่ 1-4 แกน ส่วนสาย VCT-G เป็นสาย VCT มีสายดินอีกเส้นหนึ่ง อุณหภูมิใช้งานที่ 70 องศาเซลเซียส เหมาะแก่การใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดิน
-    สายไฟ NYY/NYY-G มีทั้งชนิดแกนเดียวและหลายแกน มีเปลือกหุ้มอีกหนึ่งชั้น แรงดันไฟฟ้าที่ 750 โวลต์ อุณหภูมิใช้งานที่ 70 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับการฝังดินโดยตรงหรือร้อยท่อ นิยมใช้ภายนอกอาคารมากกว่า
-    สายไฟ THW-f (flexible) หรือสายไฟ IEC02 สายอ่อนชนิดกลมแกนเดียว ฉนวนทำจาก PVC แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ อุณหภูมิไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส เหมาะเดินสายไฟภายในอุปกรณ์ไฟฟ้า ในตู้ควบคุม ร้อยท่อเดินใต้ฝ้าและในผนัง
-    สายไฟชนิดไออีซี10 (IEC10) สายชนิดกลมมีตั้งแต่ 2-4 แกน แรงดันไฟฟ้า 300/500 โวลต์ ผลิตตาม มอก.11-2553 อุณหภูมิไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส เหมาะในกา รเดินสายไฟในบ้าน ใต้ฝ้าและผนัง


4.    วิธีตรวจสอบการเดินสายไฟ

สามารถตรว จสอบได้ทั้งที่มิเตอร์ สังเกตการหมุนมิเตอร์เมื่อตัดไฟทั้งหมดแล้ว ใช้ไขควงไฟฟ้าเช็กปลั๊กไฟ และเช็กเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีไฟรั่วหรือไม่

การเดินสายไฟเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยป้องกันเหตุอันตรายจากไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น หากต้องการความปลอดภัยที่แม่นยำ ควรให้ช่างผู้ชำนาญการมาทำการติดตั้งเดินสายไฟ


บริหารจัดการอาคาร: ติดตั้งการเดินสายไฟภายในบ้านอย่างปลอดภัย ได้มาตรฐาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/ (https://snss.co.th/dt_post/technical-services/)