ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ ลด แลก แจก แถม

โพสฟรี => smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ => ข้อความที่เริ่มโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 4 มกราคม 2024, 16:45:23 น.

หัวข้อ: โรคความดันโลหิตสูง ลดเสี่ยงได้ด้วยการตรวจสุขภาพและปรับพฤติกรรม
เริ่มหัวข้อโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 4 มกราคม 2024, 16:45:23 น.
หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่ละเลยเรื่องการตรวจสุขภาพ คุณอาจไม่รู้ตัวว่า… คุณกำลังเป็น “โรคความดันโลหิตสูง” อยู่ ซึ่งนับว่าอันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะโรคค วามดันโลหิตสูงถือเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่มักไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นๆ และจะกลาย เป็นโรคเรื้อรังที่รุนแรงได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา


ความดันโลหิตสูง คืออะไร?

ก่อนอื่น เรามาทำคว ามรู้จักกับคำว่า “ความดันโลหิต” กันก่อนว่าหมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ


ความดันโลหิตสูง จึงหมายถึง ภาวะที่มีระดับความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าระดับปกติ เป็นภาวะที่ต้องควบคุม เนื่องจากความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดแดงค่อยๆ เสื่อมสภาพและเสียหายเร็วกว่าอายุที่ควรจะเป็น ซึ่งนำไปสู่ภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือด หรืออาจทำให้หลอดเลือดแตกได้ ที่สำคัญคือ เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคสมองเสื่อม หรือโรคไตวายเรื้อรัง


เช็กด่วน! คุณเป็น “โรคความดันโลหิตสูง” หรือยัง?

การจะรู้ว่าเราเป็นโรคนี้หรือไม่นั้น ต้องวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดัน โดยค่าความดันที่วัดได้จะมีอยู่ 2 ค่า ดังนี้

    ค่าความดันตัวบนคือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว
    ค่าความดันตัวล่างคือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว

ตารางการแ บ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป

ประเภท

ความดันโลหิตตัวบน(mm/Hg)/ความดันโลหิตตัวล่าง(mm/Hg)
ความดันโลหิตปกติ                            < 120 และ < 80
ความดันโลหิตปกติที่ค่อนไปทางสูง    120-129 และ < 80
ความดันโลหิตสูงระดับที่ 1    130-139 และ/หรือ 80-89
ความดันโลหิตสูงระดับที่ 2    ≥ 140 และ/หรือ ≥ 90
ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว            ≥ 140 และ < 90



ชนิดของโรคความดันโลหิตสูง

    ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด (Primary Hypertens ion หรือ Essential Hypertens ion)
    จะไม่สามารถระบุถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดได้ พบได้มากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และยิ่งอายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสเป็นได้มากขึ้น
    ชนิดที่ทราบสาเหตุ (Secondary Hypertens ion)
    เกิดได้จากหลายสภาวะสุขภาพพื้นฐาน เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคไต ปัญหาต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด การใช้ยาบางชนิด การใช้สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์


อาการของโ รค..ที่เราต้องสังเกต

อย่างที่กล่าวไว้ว่า ความน่ากลัวของโรคนี้คือ มักจะไม่แสดงอาการ และส่วนใหญ่หาสาเหตุการเกิดโรคไม่พบ แต่มักพบโรคโดยการตรวจคัดกรองสุขภาพ หรือตรวจพบจากการที่คนไข้มาพบแพทย์ด้วยโรคอื่น เว้นแต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงจนมีอาการแสดงออกมา ดังนี้

    ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
    มีอาการคลื่นไส้, อาเจียน
    รู้สึกเหนื่อยง่าย
    หน้ามืด เป็นลมบ่อย
    เลือดกำเดาไหล

ซึ่งอาการเหล่านี้ ถือว่าเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง และไม่สามารถบ่งชี้ได้ชัดเจน จึงควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
ลดพฤติกรรมเสี่ยง…เลี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

การควบคุมความดันโลหิตในระยะยาว สามารถทำไ ด้โดยการใส่ใจสุขภาพ และพยายาม ลดพฤติกรรมเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น

    ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดหวาน มัน เค็ม
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
    ไม่สูบบุหรี่
    งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    จัดสรรเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม นอนหลับให้เพียงพอ
    ลดภาวะเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ
    ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อวัดระดับความดันโลหิต หากมีความผิดปกติจะได้รีบรักษาให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

โดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 90-95 เปอร์เซ็นต์ จะป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่มีอาการ กว่าจะพบโรคก็อาจเป็นระยะที่รุนแรงแล้ว
แต่โรคภัยต่างๆ ที่เข้ามาหาเราโดยที่เราไม่ยินดีนั้น เราสามารถ ป้องกันการเกิดโรคได้ ด้วยการหมั่นดูแลใส่ใจสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ  และไม่ควรละเลย “การตรวจสุขภาพ” เพราะจะทำ ให้เรารู้เท่าทันความเสื่อมของร่างกาย และรู้ว่ากำลังมีความเสี่ยงของโรคอะไรอยู่บ้าง จะได้หาทางป้องกันหรือทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ



โรคความดันโลหิตสูง ลดเสี่ยงได้ด้วยการตรวจสุขภาพและปรับพฤติกรรม อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/247 (https://doctorathome.com/disease-conditions/247)